วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

       มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  อ่านเพิ่มเติม


มงคลสูตรคำฉันท์


ความเป็นมา


       เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์ โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง

ผู้แต่ง

       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะคำประพันธ์

       กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์11

เรื่องย่อ

       สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตรซึ่งสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ขุททกนิกาย หมวดทขุททกปาฐะ

มงคล 38 ประการ

1. ไม่คบคนพาล  
2. คบบัณฑิต               
3. บูชาบุคคลที่ควรบูชา    
4. อยู่ในถิ่นอันที่เหมาะสม  
5. มีบุญวาสนามาก่อน              
6. ตั้งตนไว้ชอบ                                                      
7. พหูสูต                                   
8. รอบรู้ในศิลปะ       
9.  มีวินัย                 
10. มีวาจาสุภาษิต         
11. บำรุงบิดามารดา       
12. เลี้ยงดูบุตร           
13. สงเคราะห์ภรรยา-สามี  
14. ทำงานไม่ให้คั่งค้าง           
15. ให้ทาน       
16. ประพฤติธรรม 
17. สงเคราะห์ญาติ   
18. ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ
19. งดเว้นจากบาป  
20. สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
21. ไม่ประมาทในธรรม
22. มีความเคารพ
23. มีความถ่อมตน
24. มีความสันโดษ
25. มีความกตัญญู
26. ฟังธรรมตามกาล
27. มีความอดทน
28. เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
29. เห็นสมณะ
30. สนทนาธรรมตามกาล
31. บำเพ็ญตบะ
32. ประพฤติพรหมจรรย์
33. เห็นอริยสัจ
34. ทำนิพพานให้แจ้ง
35. จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
36. มีจิตไม่เศร้าโศก
37. มีจิตปราศจากกิเลส
38. มีจิตเกษม    

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี



       ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  อ่านเพิ่มเติม

หัวใจชายหนุ่ม


       หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติเพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ   อ่านเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

นิราศนรินทร์คำโคลง

       นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง   อ่านเพิ่มเติม

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

       นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ อ่านเพิ่มเติม



วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง



       อิเหน เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละคร
ประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา อ่านเพิ่มเติม